รักชีวิต http://www.rugcheevit.com

บทความ

พลังจิตพลังสมาธิ

18-03-2554 13:00:37น.

พลังจิคพลังสมาธิ           โดย รศ.รินทรา ทิมา

 

พลังงานเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนแต่สามารถทำงานได้ท่านผู้อ่านคงเคยทดลองพลังแม่เหล็ก จากผงแม่เหล็กที่นำมาโรยรอบแท่งแม่เหล็ก ผงแม่เหล็กจะจัดเรียงตัวเป็นเส้นรอบแท่งแม่เหล็กตามพลังงานของแท่งแม่เหล็ก

เหล็กที่ไม่เป็นแม่เหล็กเพราะโมเลกุลยังมิได้จัดเรียงให้เป็นระเบียบ เมื่อมีการเหนี่ยวนำแท่งแม่เหล็กให้โมเลกุลเรียงตัวเรียงตัวเป็นระเบียบได้ก็จะกลายเป็นแท่งแม่เหล็กในทันที

เช่นเดียวกับจิตมนุษย์เมื่อได้รับการฝึกจัดระเบียบก็ย่อมมีพลังจิต ซึ่งการฝึกหัดเรียกว่า ฝึกสมาธิ เพื่อจัดระเบียบให้เหมาะแก่การงาน

การฝึกจิตให้เกิดพลังงานอาจฝึกไปเพื่อกระทำกิจในทางเสียหาย เดือดร้อนแก่ผู้อื่น หรือฝึกจิตเพื่อทำคุณแก่ตนเองและผู้อื่นย่อมได้ทั้งสิ้น แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการฝึกจิตเพื่อทำคุณแก่ตนเองและผู้อื่นเท่านั้น เนื่องจากการฝึกจิตที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นนั้น ในที่สุดพลังงานนั้นจะย้อนกลับมาสู่ผู้มีพลังนั้นในภายหลัง ทำให้เดือดร้อนตามไปด้วย

ขั้นต้นของการฝึกที่พบเสมอ คือการทำให้จิตนิ่ง ในอิริยาบถในอิริยาบถหนึ่ง ที่นิยมโดยทั่วไปคือนั่งหรือเดินในที่สงัด เพื่อให้จิตเกาะเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ลมหายใจ แสงสว่าง อากาศ เป็นต้น ถ้าฝึกคนเดียวมักจะทำให้นิ่งได้ช้าเพราะขาดการเหนี่ยวนำ จึงนิยมฝึกพร้อมกันหลาย ๆ คนพร้อมผู้ฝึกสอนให้ การเหนี่ยวนำให้พลังจิตเกิดพลังงาน คือนิ่ง จะทำได้ง่ายขึ้น

เพื่อเสริมให้พลังงานเกาะเกี่ยวเกิดขึ้นได้ดีขึ้น จึงมีการฝึกสร้างพลังงานช่วยที่เรียกว่า บุญ ประกอบด้วย

1.ทาน

2. ศีล

3.ภาวนา (การฝึกสมาธิ)

ทาน เป็นการให้สิ่งของ ให้ทรัพย์แก่ผู้อื่น อาจเป็นพระสงฆ์ บุคคลธรรมดา สัตว์ต่าง ๆ องค์ประกอบที่เสริมสร้างให้เกิดพลังงานแก่จิตย่อมประกอบด้วย ความตั้งใจที่จะให้ทาน เพื่อให้เกิดบุญ หรือพลังงานของผู้ให้ทาน

ทรัพย์ที่หามาได้มิได้มาจากการเบียดเบียนผู้อื่น ได้มาตามสมควรแก่การได้

ผู้รับทานเป็นผู้ที่มีพลังงานในลักษณะจะทำให้เพิ่มพลังงานแก่ผู้ให้ทาน ถ้าผู้รับทานมีพลังงานย่อหย่อน การเสริมพลังงานแก่ผู้ให้ทานก้จะด้อยไป เปรียบได้กับการโยนลูกบอลสู่ผนัง ลูกบอลจะเด้งกลับออกมามากน้อยเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับกำลังของผู้โยนลูกบอลไปกระทบผนัง ลูกบอลต้องสูบลมเต็มแข็ง และผนังแข็ง ถ้า 3 ส่วนนี้ขาดส่วนใดส่วนหนึ่ง การเด้งกลับของลูกบอลย่อมลดไปตามส่วน เพราะพลังงานสะท้อนกลับลดลง

ศีล เป็นองค์ที่ทำให้ไม่เบียดเบียนทรัพย์ หรือร่างกายผู้อื่นด้วยกาย วาจา ใจ ผู้รักษาศึลย่อมเกิดมวลของพลังงานรอบจิตนั้นซึ่งเป็นผลที่ไม่เบียนดเบียน ทำร้าย ร่างกาย ทรัพย์ ผู้อื่นด้วยกาย ด้วยวาจา และแม้แต่ใจซึ่งสำคัญที่สุด เพราะทุกอย่างเริ่มที่ใจ ถ้าใจรักษาศีล กายและวาจาย่อมมีศีลไปด้วย

พลังงานที่เกิดจาก ทาน ศีล จะช่วยเกื้อหนุนภาวนา คือฝึกจิตให้นิ่งสงบ การจัดระเบียบของจิตจะทำได้ง่าย เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายจะถูกดึงจัดจนเกิดระเบียบให้พลังงานออกมา ความมีระเบียบแห่งเซลล์เกิดมากเท่าใด จิตก็มีกำลังเท่านั้น ผู้ฝึกสมาธิจึงมีร่างกายผ่องใส เพราะเซลล์จัดเรียงตัวอย่างมีระเบียบให้พลังงานออกมา

เมื่อฝึกจิตโดยการเกาะเกี่ยวกับการเพ่งต่าง ๆ เช่นแสงสว่าง น้ำ หรือไฟ เป็นต้น เรียกว่า  เพ่งกสิน  สำหรับแสงสว่าง หรือไฟ หรือน้ำ ทำได้ง่ายเพราะเห็นขัด การเพ่งแสงสว่างคือการรวมพลังของแสงเล็ก ๆ ให้มารวมกันเข้า เหมือนใช้เลนส์นูนรวมแสง ความสว่างจะเกิดขึ้นจากการใช้จิตดึงพลังของแสงเข้าด้วยกัน ได้ภาพของแสงสว่าง เหมือนภาพจริงที่ฝึกเพ่ง แต่สว่างกว่ามาก เย็นตา เป็นบริกรรมนิมิต  สมาธิในระดับขณิกสมาธิ (ผู้ที่เพ่งไฟ จะรู้สึกร้อน เพราะพลังงานความร้อนถูกดูดซับเข้ามาในร่างกาย ควรเพ่งิน้ำช่วยลดความร้อน) ต่อไปฝึกกระจายแสง รวมแสง เคลื่อนย้ายแสง ทำสลับกันไป เรียกว่า อุคคหนิมิต  เป็นสมาธิระดับอุปจารสมาธิ

แสงสว่างที่รวมสว่างใสคล้ายดาวประกายพรึก หรือก้อนเพขร อารมณ์สงบนิ่ง ไม่ได้ยินเสียง เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต เป็นสมธิระดับ อัปนาสมาธิ อยู่ในญาณระดับ ปฐมฌาณ สภาพจิตจะพิจารณาดูแสง ความใสสว่างของนิมิต จิตเอิบอิ่ม สุขสงบ สบาย จิตไม่คิดถึงอะไร นอกจากความใสของแสงสว่าง

อารมณืของปฐมฌาณนี้ใช้เสียงเป็นเครื่องหมาย แม้ว่าใครจะทำเสียงดังขนาดใด เช่น เปิดเครื่องขยายเสียงอยู่ข้างกาย หรือตะโกนด่าผ่านเครื่องขยายเสียงอยู่ข้างกายก็เหมือนไม่ได้ยิน (หูได้ยินแต่จิตไม่รับรู้) จิตเริ่มไม่รับรู้ในร่างกาย

ปล่อยจิตพิจารณาความใสของแสงสว่างไปเรื่อย ๆจนจิตไม่สนใจแสงสว่าง มีแต่ความสงบสุข สุข สบาย เหมือนไม่มีตัวตนอยู่ มีแต่ความโล่งสว่าง ไม่รู้ว่าอยู่ที่ใด เป็นฌาณสี่ มีอารมณ์ปล่อยวางเป็นอุเบกขา

ถอนจิตมาที่ปฐมฌาณเดินจิตขึ้น ลง สลับไปเรื่อยจนคล่อง จนสามารถเดินจิตจากปฐมฌาณถึงฌาณสี่ได้ชั่วกระพริบตา (ทำได้ทั้งหลับตาและลืมตา)

ถอนจิตมาที่ปฐมฌาณ กำหนดใข้จิตที่ฝึกดีแล้วนี้ใช้ทำงานอะไรก็ได้ตามปราถนา(แต่อย่าให้ผู้อื่นเดือดร้อน)

ผู้ที่ต้องการวิปัสสนา ให้พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในปฐมฌาณ ถ้าไม่เกิดนิมิตให้พิจารณา ให้คิดถึงความไม่เที่ยงแท้ของร่างกายและทรัพย์สิน แล้วเดินฌาณไปจนถึงฌาณสี่ ถอยกลับมาใหม่ พิจารณา (คิด)ทำไปเรื่อย ๆ แล้วจะเกิดนิมิตให้พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตเกิดความเบื่อหน่าย และปล่อยวาง แต่ต้องพิจารณาหลาย ๆ รอบ

ถ้าจิตทรงฌาณสี่ได้ถึง 7 วัน ด้วยอำนาจของสมถะจะกดนิวรณ์ 5 (ประกอบด้วย กามฉันทะ คือความพอใจในรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นดี รสชอบใจ สัมผัสนิ่ม กระด้าง ควาโกรธ พยาบาท ความง่วง ความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ความสงสัยต่าง ๆ )ให้สงบระงับได้ชั่วคราว จิตเริ่มรู้ (เห็นด้วยจิต) ถึงการเกาะไม่ติดของกามฉันทะ  ถ้าทรงฌาณสี่ไปได้เรื่อย ๆ นิวรณ์ 5 จะสงบระงับไปได้ตามส่วน

การฝึกจิตตามแนวนี้จะต้องไม่มีความอยากรู้อยากเห็น ฝึกไปตามขั้นตอน เมื่อใดที่เกิดความอยากรู้อยากเห็นจิตท่านจะไม่มีกำลัง จะรวมกำลังเข้าเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้ ถ้าท่านรู้ถึงการเกาะไม่ติดของผัสสะในกามฉันทะ ท่านจะเข้าใจ “ท่ามกลางความว่างเปล่าคือความมี ท่ามกลางความมีคือความว่างเปล่า”

สภาวะต่าง ๆเหล่านี้ไม่คงอยู่ตลอดไป เมื่อเลิกฝึกจิตปล่อยให้นิวรณ์รบกวนทุกอย่างก็เสื่อมไป จะฝึกใหม่ก็ต้องเริ่มใหม่ และการเริ่มใหม่จะยากกว่าการฝึกครั้งแรก

 

 

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%